ออนไลน์ : 14
สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลดินดำ
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ตำบลดินดำ เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชี บริเวณลำน้ำเป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน ในหมู่บ้านมีบ่อดินดำ ซึ่งเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดใช้ปั้นภาชนะ เวลานำไปเผาไฟจะมีกลิ่นหอม จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านดินดำ” และมีลำน้ำชีไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์จึงได้สมญานามว่าดินดำน้ำชุ่ม เป็นนามของตำบลดินดำตราบเท่าทุกวันนี้
เทศบาลตำบลดินดำ ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลดินดำจากองค์การบริหารส่วนตำบลดินดำ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ปัจจุบันมีนายอภินันท์ ไชยหะนิจ เป็นนายกเทศมนตรี ตั้งแต่ วันที่ 16 ธันวาคม 2555 จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเจ้าท่า จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีแม่น้ำชีเป็นเส้นแบ่ง
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลยางใหญ่ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านเขือง อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
ติดต่อกับตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศตำบลดินดำ มีลักษณะลาดเอียงจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือ หรือลาดเอียงลงไปทางแม่น้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ไหลผ่านพื้นที่ของตำบลดินดำ และพื้นที่ตำบลดินดำจะมีแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วทั้งพื้นที่ตำบล ซึ่งจะทั้งลำห้วย หนอง และบึง อยู่ทั่วไป ทำให้เป็นแหล่งทำการเกษตร โดยเฉพาะ การทำนาข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของตำบลดินดำ มีลักษณะเป็นแบบมรสุมประจำถิ่น คือ จะมีอากาศร้อนในช่วง เดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุก ในบางปีก็จะเกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่ และในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์จะมีอากาศเย็น มีภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน – มกราคม
1.4 ลักษณะของดิน
ดินในเขตพื้นที่ตำบลดินดำ จะมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นาข้าว ในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำจะมีลักษณะดินทรายปนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะมีลักษณะดินเหนียว อุ้มน้ำได้ดี
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำในเขตตำบลดินดำประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่
1) แม่น้ำ มี 1 สาย คือ แม่น้ำชี อยู่บริเวณทิศเหนือสุดของพื้นที่ เป็นเขตติดต่อกับตำบลเจ้าท่า จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเหมือนเส้นเลือดใหญ่ หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรในตำบลดินดำ ซึ่งแม่น้ำชี จะเป็นที่ตั้งของสถานีสูบน้ำ จำนวน 7 แห่ง ทำหน้าที่จ่ายน้ำให้เกษตรกรทำนาข้าว ซึ่งมีทั้งนาปรังและนาปี ครอบคลุมพื้นที่หลายพันไร่ ทำให้เศรษฐกิจการผลิตข้าวของชาวตำบลดินดำมีประสิทธิภาพมาก
2) ลำห้วย ได้กระจายอยู่ทั่วไปในเขตตำบลดินดำ ซึ่งลำห้วยทุกแห่งจะไหลรวมไปทางทิศเหนือของพื้นที่ลงแม่น้ำชี ลำห้วยในตำบลดินดำจะเป็นแห่งกักเก็บน้ำไว้ให้ประชาชนได้ใช้ในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งทำมาหากินด้านการจับสัตว์น้ำ ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในด้านนี้มากกว่าใช้ในการเกษตร ได้แก่ ห้วยน้ำเค็ม,ห้วยกุดพันเจอะ,ห้วยกุดพีเวียง,ห้วยกุดน้ำจั้น,ห้วยกุดขวาง,บุ่งไข่นก,ร่องอำไพ กุดโง้ง เป็นต้น
3) หนองน้ำ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำแบบหนึ่งที่มีอยู่ในตำบลดินดำ มีลักษณะเป็นบึงหรือหนองน้ำขนาดใหญ่ กินพื้นที่หลายสิบไร่ ได้แก่ กุดแปะ , หนองแห้ เป็นต้น
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง ตำบลดินดำมีชุมชนหมู่บ้าน จำนวน 17 หมู่บ้าน ดังนี้
1) บ้านดอนหวาย หมู่ที่ 1 2) บ้านดอนแคน หมู่ที่ 2
3) บ้านพยอม หมู่ที่ 3 4) บ้านพยอม หมู่ที่ 4
5) บ้านจานทุ่ง หมู่ที่ 5 6) บ้านคุยค้อ หมู่ที่ 6
7) บ้านขมิ้น หมู่ที่ 7 8) บ้านเลิงคา หมู่ที่ 8
9) บ้านดินดำ หมู่ที่ 9 10) บ้านหนองบัวรอง หมู่ที่ 10
11) บ้านค้อน้อย หมู่ที่ 11 12) บ้านเลิงคา หมู่ที่ 12
13) บ้านสะแบง หมู่ที่ 13 14) บ้านดงยาง หมู่ที่ 14
15) บ้านขมิ้น หมู่ที่ 15 16) บ้านดอนแคน หมู่ที่ 16
17) บ้านคุยค้อ หมู่ที่ 17
2.2 การเลือกตั้ง ตำบลดินดำมีหน่วยงานบริหารท้องถิ่น เป็นเทศบาลตำบล มีเขตการเลือกตั้ง
แบ่งเป็น 2 เขตการเลือกตั้งตามเขตหมู่บ้าน ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 | เขตเลือกตั้งที่ 2 | ||
หมู่บ้าน | หมู่ที่ | หมู่บ้าน | หมู่ที่ |
บ้านคุยค้อ | 6 | บ้านดอนหวาย | 1 |
บ้านขมิ้น | 7 | บ้านดอนแคน | 2 |
บ้านเลิงคา | 8 | บ้านพยอม | 3 |
บ้านดินดำ | 9 | บ้านพยอม | 4 |
บ้านหนองบัวรอง | 10 | บ้านจานทุ่ง | 5 |
บ้านค้อน้อย | 11 | บ้านสะแบง | 13 |
บ้านเลิงคา | 12 | บ้านดงยาง | 14 |
บ้านขมิ้น | 15 | บ้านดอนแคน | 16 |
บ้านคุยค้อ | 17 |
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ประชากรทั้ง 17 หมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 6,970 คน แยกเป็นชาย 3,441 คน หญิง 3,529 คน มีความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 223.75 คน/ตารางกิโลเมตร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | จำนวนหลังคาเรือน |
หมู่ที่ 1 บ้านดอนหวาย | 255 | 248 | 503 | 145 |
หมู่ที่ 2 บ้านดอนแคน | 107 | 126 | 233 | 63 |
หมู่ที่ 3 บ้านพยอม | 186 | 187 | 373 | 159 |
หมู่ที่ 4 บ้านพยอม | 177 | 208 | 358 | 105 |
หมู่ที่ 5 บ้านจานทุ่ง | 158 | 163 | 321 | 92 |
หมู่ที่ 6 บ้านคุยค้อ | 143 | 146 | 289 | 80 |
หมู่ที่ 7 บ้านขมิ้น | 135 | 121 | 256 | 79 |
หมู่ที่ 8 บ้านเลิงคา | 184 | 166 | 350 | 81 |
หมู่ที่ 9 บ้านดินดำ | 272 | 268 | 540 | 143 |
หมู่ที่ 10 บ้านหนองบัวรอง | 287 | 307 | 594 | 162 |
หมู่ที่ 11 บ้านค้อน้อย | 164 | 155 | 319 | 94 |
ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | จำนวนหลังคาเรือน |
หมู่ที่ 12 บ้านเลิงคา | 223 | 220 | 443 | 103 |
หมู่ที่ 13 บ้านสะแบง | 292 | 307 | 599 | 184 |
หมู่ที่ 14 บ้านดงยาง | 318 | 329 | 647 | 174 |
หมู่ที่ 15 บ้านขมิ้น | 147 | 170 | 317 | 83 |
หมู่ที่ 16 บ้านดอนแคน | 279 | 266 | 545 | 156 |
หมู่ที่ 17 บ้านคุยค้อ | 97 | 133 | 230 | 61 |
รวม | 3,424 | 3,520 | 6,944 | 1,964 |
(ข้อมูลจำนวนประชากร และหลังคาเรือน ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2562)
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร ได้มีการแบ่งช่วงอายุ ดังต่อไปนี้
ช่วงอายุ | เพศชาย | เพศหญิง | รวม | |||
คน | % | คน | % | คน | % | |
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม | 28 | 0.40 | 27 | 0.39 | 55 | 0.79 |
1 ปีเต็ม - 2 ปี | 58 | 0.83 | 53 | 0.76 | 111 | 1.59 |
3 ปีเต็ม - 5 ปี | 88 | 1.26 | 89 | 1.28 | 177 | 2.54 |
6 ปีเต็ม - 11 ปี | 199 | 2.86 | 184 | 2.64 | 383 | 5.49 |
12 ปีเต็ม - 14 ปี | 84 | 1.21 | 90 | 1.29 | 174 | 2.50 |
15 ปีเต็ม - 17 ปี | 111 | 1.59 | 95 | 1.36 | 206 | 2.96 |
18 ปีเต็ม - 25 ปี | 388 | 5.57 | 371 | 5.32 | 759 | 10.89 |
26 ปีเต็ม - 49 ปี | 1326 | 19.02 | 1265 | 18.15 | 2591 | 37.17 |
50 ปีเต็ม - 60 ปีเต็ม | 547 | 7.85 | 598 | 8.58 | 1145 | 16.43 |
มากกว่า 60 ปีขึ้นไป | 612 | 8.78 | 757 | 10.86 | 1369 | 19.64 |
รวม | 3,441 | 3,529 | 6,970 | 100 |
ข้อมูลจาก : งานทะเบียนราษฎรอำเภอจังหาร เดือน มิถุนายน 2561